19 December 2009

ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.52 ได้ไปบรรยายร่วมกับ ผศ.ดร.วุฒิพงศ์ เมืองน้อย ในเรื่อง แนวคิดและโครงสร้างระบบงบประมาณแบบมุ้งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสำนักงบประมาณ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ท่านอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้บริหารคณะและภาควิชาหลายท่านมาร่วมฟังและแสดงความคิดเห็น

ดู powerpoint ของการบรรยายวันนั้นได้ที่นี่ครับ
http://www.kmutt.ac.th/pd/files/Three%20Forum_17Dec09.ppt

13 December 2009

Why Not

"Why not?"


Some men see things as they are and say, why? I dream of things the way they never were and say, why not?
- Robert F. Kennedy, after George Bernard Shaw



Lecture น่าสนใจที่ Yale University



Watch it on Academic Earth

Barry Nalebuff (Yale University), Yale University (Accessed November 17, 2009). License: Open Yale Courses Terms of Use

12 December 2009

การลงทุนโดยใช้เงินกู้

การลงทุนในโครงการระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้น ทำได้หลายรูปแบบ ทั้งใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ หรือให้ภาคเอกชนมาร่วมลงทุน

ในส่วนของเงินกู้นั้นส่วนใหญ่จะใช้การกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาต่าๆ เช่น World Bank หรือ Asian Development Bank หรือค่ายญี่ปุ่นอย่าง JICA (เมื่อก่อนเป็น OECF ก่อนเปลี่ยนเป็น JBIC และในที่สุดมีการปรับโครงสร้างใหม่มาร่วมกับ JICA)

ทั้งหมดนี้เรื่องที่น่าสนใจคือ การใช้เงินกู้มาลงทุนนั้นจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าโครงการให้ดี โดยหลายๆโครงการที่ใช้เงินกู้นั้นหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการนั้นมิได้ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจจะเพราะคิดว่าเงินกู้นั้นได้มาง่าย ดอกเบี้ยถูก เหมือนเงินที่ได้เปล่า แถมหน่วยงานมิได้เป็นผู้รับภาระ แต่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระในการใช้คืน

เปรียบเหมือนกับครอบครัวที่ลำพังเงินเดือนอาจจะพออยู่พอกิน แต่หากจะมาลงทุนทำอะไรอาจจะไม่พอ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกู้มาลงทุน เงินกู้เหล่านี้จะกลายเป็นภาระให้กับครอบครัวในอนาคต ซึ่งหากการลงทุนนั้นๆไม่เกิดดอกไม่เกิดผล ก็จะทำให้ภาระเงินกู้ที่ได้กู้ไปแล้วกลับมารุมเร้าครอบครัวในอนาคตได้อย่างไม่ต้องสงสัย

ยิ่งแย่ไปกว่านั้น บางหน่วยงาน ไม่ได้กู้มาลงทุน แต่กู้มากินมาใช้ มาจ่ายเงินเดือน จ่ายสวัสดิการ หรือแม้กระทั่งแอบมาจ่ายโบนัส อย่างนี้ก็เหมือนกับครอบครัวที่กู้เงินมาเพื่อใช้จ่ายไปวันๆ ถึงเวลาคืน เงินต้นก็ไม่มีจะคืน ดอกที่พอกพูนก็ไม่มีจะจ่าย ต้องหมุนเวียน หยิบโน่น มาจ่ายนี่ กู้ใหม่เพื่อใช้หนี้เก่า ภาระหนี้ก็จะเพิ่มพูดไปเรื่อยๆ จนครอบครัวล้มละลาย

นอกจากนี้ยังไม่พอ บางครั้งประเทศเราอาจจะมิได้มีความต้องการโครงการลงทุนอะไร แต่ประเทศเจ้าของแหล่งเงินกู้ก็อยากจะให้กู้ อาจจะด้วยเหตุผลของการที่มีสภาพคล่องล้นในประเทศ หรืออาจจะต้องการสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่สร้าอิทธิพลทางการเมือง ก็พยายามยัดเยียดโครงการต่างๆมาให้ พร้อมกับ package เงินกู้ เช่น

-เริ่มแรกก็จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำทีจะให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร หรือบางทีเรียกว่า Technical Assistance แต่ที่แท้ก็อาจจะเป็นผู้ที่มาปั้นโปรเจคทิ้งไว้
-จากนั้นก็ส่งผู้เชี่ยวชาญชุดต่อมาเพื่อศึกษาโครงการ ทำรายละเอียด ออกแบบ ฯลฯ
-เมื่อมีโครงการ มีเอกสาร มีแบบ พร้อมแล้ว ก็จะเข้ามาให้เงินกู้เพื่อดำเนินโครงการนั้น
-เมื่อกู้แล้ว ก็อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆนาๆ รวมถึงเงื่อนไขการใช้ทีมงาน และเทคโนโลยีจากประเทศเจ้าของเงินกู้ ที่เรียกกันว่า Tied Financing หรือการให้เงินกู้แบบมีเงื่อนไขผูกพัน
-เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ประเทศก็จะมีหนี้มาหนึ่งก้อน ซึ่งหากโครงการมีประโยชน์จริงก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่หากโครงการไม่มีประโยชน์ เช่น กลายเป็นถนน (ไม่ใช่คน) เดิน ต่างๆนานา
- สุดท้าย ประเทศเจ้าของแหล่งเงินกู้ก็จะกุมอำนาจทางเศรษฐกิจกับประเทศผู้กู้

จริงๆก็อาจจะไม่ควรมองโลกในแง่ร้ายเกินไป แต่เหตุการณ์ลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นเป็นประจำ มีให้เห็นตำตาอยู่ทั่วไป

สรุปก็คือ การใช้เงินกู้เพื่อลงทุนในโครงการลงทุนต่างๆนั้น รัฐควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วนถึงประโยชน์ที่จะได้รับ อย่ามุ่งหวังแต่เพียงใช้เงินกู้ให้หมด เพราะเห็นเป็นเงินที่ได้มาง่าย

ใครว่าใช้เงินเป็นเรื่องง่ายครับ จริงๆ ใช้เงิน ยากกว่าหาเงินเสียอีก ในกรณี้นี้ จริงไหม